เมื่อวันที่ 31 พ.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. นางซีรีน เกย์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า แนวโน้มของปรากฏการณ์การท่องเที่ยวที่เรียกว่า เที่ยวล้างแค้น เกิดขึ้นจากความต้องการที่อั้นไว้ก่อนหน้าของผู้คนที่อยากจะกลับมาเดินทางท่องเที่ยวอย่างเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทย โดยจากการศึกษาของวีซ่าพบว่า เกือบครึ่ง หรือ 46% ของผู้บริโภคชาวไทย มีการเดินทางไปเที่ยวยังต่างแดนในปีหน้า ตามด้วยผู้บริโภคของสิงคโปร์ 41% และฟิลิปปินส์ 38%
นอกจากนี้ข้อมูลจากการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของวีซ่า การใช้จ่ายแบบไร้เงินสด การชอปปิงออนไลน์ และการเที่ยวล้างแค้น คือ 3 เทรนด์ผู้บริโภคหลักที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังโควิดถูกลดระดับสู่โรคประจำถิ่น โดยผู้บริโภคชาวไทยนำหน้าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งใจจะใช้จ่ายแบบไร้เงินสดบ่อยครั้งขึ้น 89% ตามด้วยเวียดนาม 83% มาเลเซีย 78% อินโดนีเซีย 78% และฟิลิปปินส์ 78%คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ขณะที่การศึกษาครั้งนี้ ผู้บริโภคชาวไทยมีความมั่นใจในการชำระเงินรูปแบบดิจิทัลเป็นที่สุด โดยมากกว่า 4 ใน 5 ของคนไทย หรือ 86% มองว่าการชำระเงินรูปแบบดิจิทัลนั้นปลอดภัยมากกว่า ตามด้วยเวียดนาม 80% ฟิลิปปินส์ 79% อินโดนีเซีย 79% และมาเลเซีย 75%
“2 ปีที่ผ่านมานี้ ได้มองเห็นการขับเคลื่อนด้านการค้าดิจิทัลจากการที่ผู้บริโภคมองหาวิธีการชำระที่เหนือกว่าในด้านความรวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกสบายยิ่งขึ้น เมื่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้เปิดพรมแดนอีกครั้ง จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับธุรกิจทั้งหลายที่จะปรับตัวและเปิดรับ เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาในการดำเนินธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่วิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง”
นางซีรีน กล่าวว่า การปิดร้านค้าในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด ทำให้เกิดการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางใหม่ๆ อย่างมากมาย โดยมากกว่าครึ่ง หรือ 55% ของผู้บริโภคชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยลองชอปปิงออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์เป็นครั้งแรก ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในประเทศอินโดนีเซีย 72% เวียดนาม 66% และไทย 65% มากกว่า 2 ใน 5 ยังเลือกที่จะสั่งซื้อของทางโทรศัพท์จากร้านค้าใกล้บ้านเป็นครั้งแรก
อย่างไรก็ตามผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่เปลี่ยนไปช้อปผ่านช่องทางสื่อโซเชียล 40% โดยเวียดนามเป็นประเทศที่คนนิยมการช้อปแบบนี้มากที่สุด 50% ตามด้วยประเทศไทย 49% และฟิลิปปินส์ 46%